วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รวมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา 2556

รวมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา 2556



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำแม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" และในปี 2556 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

           อย่างไรก็ตาม ประเพณีสำคัญอีกหนึ่งในช่วงเข้าพรรษา คือ ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา หรือที่เรียกกันว่า ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา โดยการหล่อเทียนเข้าพรรษามีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว และตามชนบทการหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว ทำให้เป็นอีกหนึ่งงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ส่วนในปี 2556 นี้ จะมีการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ไหนบ้างนั้น ตามเราไปชมเลยค่ะ

ภาพจาก Jaochainoi/shutterstock.com 

           จังหวัดอุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงาน "สืบฮีตวิถีชาวอุบลฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี" ในระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว



ภาพจาก Jukree Boonprasit/shutterstock.com

           โดยมีกิจกรรมน่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อาทิ กิจกรรมเยือนชุมชนคนทำเทียน สัมผัส 25 วิถีชาวอุบล ชมความงดงาม ความยิ่งใหญ่ของพิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานและผ้าอาบน้ำฝนพระราชทาน ร่วมย้อนตำนาน 112 การแสดงชุดสุนทราพาเพลิน การแสดงจำอวดหน้าม่าน ชมการแสดงแสง เสียง ขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน งานพาแลงประกวดนางงามเทียนพรรษา ในระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีการนำเสนอ 3 วิถี คือ วิถีธรรม นิทรรศการพุทธประวัติ ไหว้ดีพระดีศรีอุบล วิถีชาวบ้าน สาธิตการทำผ้าพื้นเมือง การตำหูกสาวไหม การทำเครื่องจักสาน ปั้นดินเผา สาธิตการทำฆ้อง การทำเครื่องทองเหลือง วิถีเทียน ชมการจัดต้นดอกผึ้ง การแกะสลักเทียน ซุ้มเทียนหอม กิจกรรมวิจิตรอลังการงามล้ำเทียนพรรษา (กิจกรรมรวมเทียน) กิจกรรมสว่างไสว ฮุ่งเฮืองเมืองธรรมด้วยการรณรงค์จัดทำฮางเทียน จุดเทียนหน้าบ้าน ห้างร้าน หน่วยงานราชการ

           ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 3770, 0 4525 0714 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก Tat UbonRatchathani

 
      งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดนครราชสีมา




ภาพจาก KROMKRATHOG/shutterstock.com 

           เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปร่วมงานประเพณีแห่เทียนเลยก็ว่าได้สำหรับ งานแห่เทียนโคราช ประจำปี 2556 ภายใต้ชื่อ "เสริมบุญ สร้างทานบารมี แห่เทียน โคราช" ซึ่งมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณสวนเมืองทอง สวนสุรนารี, สวนอนุสรณ์สถานฯ และลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

           สำหรับการประกวดต้นเทียนพรรษาถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมชมความงดงามอลังการของต้นเทียนพรรษา ซึ่งแต่ละต้นล้วนเกิดจากความเพียรพยายามของช่างเทียนที่มีความชำนาญ สร้างและแกะสลักต้นเทียนอันวิจิตรงดงาม กล่าวได้ว่าฝีมือของช่างเทียนโคราชนั้นไม่แพ้ใคร

           โดยในปีนี้ได้มีการประกวดต้นเทียนพรรษาประเภทต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภท ก. ประเภท ข. (ขบวนแห่ต้นเทียน พร้อมกันในวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00-18.00 น. ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี) ประเภท ค. (ลงทะเบียน 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 08.00-16.00 น.) พร้อมชมขบวนแห่สุดยิ่งใหญ่ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เริ่มเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ที่รอบตัวเมืองโคราชเป็นระยะทางกว่า 7 กิโลเมตร ภายในงานยังมีการแสดงประกอบ ต้นเทียน แสง สี เสียง ซึ่งเป็นการแสดงที่หาชมได้ยาก และมหรสพสมโภช อีกทั้งกิจกรรมทางบุญกับ 9 บุญ ร่วมทำบุญพิธีเชิญพระพุทธมนต์ การหล่อเทียนพระประจำวันเกิดเป็นที่ระลึกนำกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต กิจกรรมการประกวดต้นเทียน และขบวนแห่เทียน

           ทั้งนี้ ใครที่สนใจเดินทางไปร่วมงานบุญครั้งใหญ่แบบนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลธาตุพนม โทรศัพท์ 0 4254 1304, ททท.สำนักงานนครพนม โทรศัพท์ 0 4251 3490-1 หรือเว็บไซต์ koratcity.net และ เฟซบุ๊ก KORATCANDLE

  
  
ประเพณีใส่บาตรเทียน


          จังหวัดน่าน ขอเชิญร่วมงาน "ประเพณีใส่บาตรเทียน" ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ณ วัดบุญยืน พระอารามหลวง ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
          โดย ประเพณีใส่บาตรเทียน ถือเป็นประเพณีที่สำคัญที่คณะสงฆ์และคณะศรัทธาสาธุชนชาวอำเภอเวียงสา ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2344 หลังจากเจ้าฟ้าอัตถวรปัณโญทรงสร้างวัดบุญยืนได้ 1 ปี (วัดบุญยืนสร้างเมื่อ พ.ศ.2343) ในยุคโบราณที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พระภิกษุสามเณรทุกรูปในเวียงสา ได้กำหนดเอาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน จัดพิธีสูมาคารวะหรือพิธีขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระชั้นผู้ใหญ่ขึ้น ในขณะที่พุทธบริษัททั้งหลายต่างก็ถือเอาวันเดียวกันนี้นำเทียนและดอกไม้มาถวายแก่พระภิกษุ-สามเณร เพื่อให้ได้มีแสงสว่างไว้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาพระธรรมวินัยในยามค่ำคืน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธบัญญัติที่ให้ญาติโยมได้ถวายเทียนให้กับพระภิกษุ สามเณร

          เดิมประเพณีใส่บาตรเทียนเป็นประเพณีที่ทำเฉพาะวัดบุญยืน และต่อมาได้ขยายไปทั่วอำเภอเวียงสา สืบเนื่องจากวัดบุญยืนเป็นวัดที่มีเจ้าคณะอำเภออยู่จำพรรษามาตั้งแต่อดีต พระภิกษุสามเณรทุกรูปในอำเภอจึงได้มาทำพิธีขอขมา (สูมาคารวะ) เจ้าคณะอำเภอ และพระเถระที่มีอายุพรรษามากที่วัดนี้ จึงเกิดการสานต่อประเพณีใส่บาตรเทียนขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี มาจนถึงทุกวันนี้

          ทั้งนี้ ประเพณีใส่บาตรเทียน ถือเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสามาเป็นเวลาช้านาน เพราะเป็นประเพณีที่มีทั้งฝ่ายพระสงฆ์และคฤหัสถ์ใส่บาตรร่วมกัน ที่อื่นปรากฏเฉพาะคฤหัสถ์ใส่บาตรพระเพียงอย่างเดียว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ให้อยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสาต่อไป
          กิจกรรมภายในงาน พิธีจะเริ่มตั้งแต่ภาคเช้า ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป คือพระภิกษุสามเณรในอำเภอเวียงสา และคณะศรัทธาสาธุชน จะเตรียมเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อยหรือน้ำอบน้ำหอม และเตรียมสำรับกับข้าวใส่ปิ่นโตไปด้วย เพื่อเตรียมถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณรที่มาร่วมพิธี ส่วนในภาคบ่าย ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป พระภิกษุสามเณรจะมีการเตรียมบาตร และผ้าอาบน้ำฝนหรือผ้าสบงไว้ปูบนโต๊ะ และตั้งบาตรบนผ้าอาบน้ำฝน เพื่อรองรับเทียนที่คณะสงฆ์ และคณะศรัทธาสาธุชนใส่บาตรเทียน โดยมีพระภิกษุสามเณรนำคณะศรัทธาสาธุชนเดินใส่บาตรเทียนเวียนรอบโต๊ะ และวางผ้าอาบน้ำฝน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีใส่บาตรเทียน ก็จะกลับเข้าไปภายในอุโบสถเพื่อทำพิธีสูมาคารวะ (ขอขมา) ต่อพระเถระผู้มีอายุพรรษามาก

 
    งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด



ภาพจาก Noppasin/shutterstock.com 

          จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ สำนักงานเทศบาลตำบลลาดชะโด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา บริษัท โฟโต้ไฟล์ กรุ๊ป พระครูวิมลพัฒนกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดลาดชะโด และ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556 (วันอาสาฬหบูชา) เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงไว้ ตลอดจนส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมกันบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองให้อยู่ในสภาพสวยงาม รวมถึงชมวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลอง สัมผัสความเป็นไทย วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังคงรักษาไว้ ตลอดเส้นทางสายน้ำแห่งชีวิต ที่ซึ่งในน้ำยังมีปลา ในท้องทุ่งนายังเขียวขจี

          โดยจะพบกับกิจกรรมมากมายในงาน เช่น ขบวนเรือแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ตกแต่งสร้างสรรค์อย่างสวยงาม การประกวดบ้านสวยริมคลอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านลาดชะโด การจัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตชาวลาดชะโด ณ “สถานสำแดงภาพลาดชะโด” การจำลองบรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค และในภาคค่ำเชิญชมการแสดง แสง สี เสียง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เล่าขานตำนานความเป็นมาของชุมชนลาดชะโด

          ทั้งนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ nmt.or.th/ayutthaya/latchado หรือ เฟซบุ๊ก งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด

  

    งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอธาตุพนม ประจำปี 2556

          ถือเป็นงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของไทย เพราะเมื่อถึงเทศกาลจะมีการจัดขบวนแห่งเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้กัน โดยในปีนี้ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอธาตุพนม ประจำปี 2556 มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

          โดยภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การชมขบวนแห่ต้นเทียนที่ตกแต่งด้วยบุพชาติอย่างตระการตา, การประกวดเทพีต้นเทียน, ร่วมนมัสการองค์พระธาตุพนม พร้อมร่วมทำบุญตักบาตร เวียนเทียนในวันเข้าพรรษาอีกด้วย

          ทั้งนี้ สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลตำบลธาตุพนม โทรศัพท์ 0 4254 1304 หรือ ททท.นครพนม โทรศัพท์ 0 4251 3490-1

  
  
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดสุพรรณบุรี




ภาพจาก gopause /shutterstock.com
          จังหวัดสุพรรณบุรี ขอเชิญร่วม "งานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2556" ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2556 ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมทางศาสนา และการนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโบราณสถาน โบราณวัตถุ วิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่สำคัญใน 10 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี นำเสนอโดยผ่านการแกะสลักเทียนประจำพรรษา เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมความสวยงามของต้นเทียน พร้อมทั้งขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ตระการตาของแต่ละอำเภอ

          โดยในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ชมพิธีเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมชมขบวนแห่เทียนพรรษาอันยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งภายในขบวนมีการแสดงในรูปแบบศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การฟ้อนรำที่อ่อนช้อยงดงาม ชมการประกวดเทียนพรรษา การประกวดขบวนแห่ และชมการจัดโชว์รถต้นเทียนพรรษา และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมฉลองสมโภชเทียนพรรษา  ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
          ทั้งนี้ สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 5380, ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030, 0 3553 5789, 0 3553 6189

 
  
ประเพณีแห่เทียนพรรษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี


          เมืองพัทยา จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2556 และขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ในระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ณ ถนนเลียบชายหาดพัทยา เพื่อสืบสานและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของไทยสืบไป

          กำหนดการ

          วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556

   เวลา 13.00 น. ลงทะเบียน ประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ณ ถนนเลียบชายหาดพัทยา บริเวณแยกพัทยากลาง

  
เวลา 15.30 น. เคลื่อนขบวนต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ไปตามถนนเลียบชายหาดพัทยา ถึงจุดสิ้นสุดขบวน ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้

  
เวลา 15.30 น. เคลื่อนขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระประทาน จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสักการบูชา เสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 จะนำไปประดิษฐาน ณ วัดใหม่สำราญ (เกาะล้าน)

  
เวลา 18.30 น. พิธีมอบรางวัล แก่ผู้ชนะการประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้

          วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556

  
 เวลา 09.00 น. พิธีถวายเทียนพรรษาแก่วัดต่าง ๆ ในเขตเมืองพัทยา เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนได้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองพัทยา

  
       หลักเกณฑ์การประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ประกวดต้นเทียน ระดับหน่วยงานทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  
ประเภทสวยงาม
  
ประเภทความคิดสร้างสรรค์

          การประกวดริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
     ระดับหน่วยงานทั่วไป
  
  ระดับชุมชนในเขตเมืองพัทยา

          การประกวดริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา เน้นการสื่อความหมายด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา หรือเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่ดีงามของเมืองพัทยา ตลอดจนการส่งเสริมความสามัคคี สมานฉันท์ ปรองดอง ความรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

          หน่วยงาน ชุมชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา สนใจเข้าร่วมประกวดต้นเทียนพรรษาและริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักการศึกษา ศาลาว่าการเมืองพัทยา ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ในวันเวลาราชการ โทรศัพท์ 0 3825 3100 ต่อ 3327

          ทั้งนี้ เมืองพัทยาจะทำการปิดการจราจร ในวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎคม 2556 ณ บริเวณถนนเลียบชายหาด 1 ช่องทางจราจร ตั้งแต่วงเวียนปลาโลมาถึงบริเวณแยกพัทยากลาง ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. และบริเวณถนนเลียบชายหาดพัทยา ตั้งแต่บริเวณแยกพัทยากลาง ถึงบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวพัทยาใต้ ตั้งแต่เวลา 15.30-18.00 น. เมืองพัทยาขออภัยมา ณ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก PRPATTAYA

  

  
มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์


          จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญชวนเที่ยวงาน "มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์" ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2556 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
          โดยในงานจะมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์, การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ, การประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชา, การประกวดบรรยายธรรมะ, การแสดงดนตรีไทยของนักเรียน รวมถึงการเจริญพระพุทธมนต์และอธิษฐานจิตถวายในหลวง ซึ่งมีพิธีเปิดงาน ณ บริเวณหน้าค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์

          โดยไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การชมขบวนแห่เทียนพรรษาที่วิจิตรงดงาม และขบวนแห่ช้างที่ประดับตกแต่งสวยงามด้วย แสงไฟระยิบระยับ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งชมบนอัฒจรรย์ ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เพื่อทำบุญตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก โดยพระเถระชั้นผู้ใหญ่นั่งรับบิณฑบาตบนหลังช้าง

          ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดฝ่ายอำนวยการ โทรศัพท์ 0 4451 2039 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ โทรศัพท์ 0 4451 4447-8

วันเข้าพรรษา 2556

               ปี พ.ศ.2556 มีชื่องานว่า "สืบฮีตวิถีชาวอุบลฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี" ย้อนตำนาน 112 ปี นับจากที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ได้ดำริให้มีการแห่เทียนพรรษารอบเมืองแทนการแห่บุญบั้งไฟ เมื่อ พ.ศ.2444 อุบลราชธานีมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีที่แสดงออกมาซึ่งความสามัคคีของชาติพันธุ์ที่หลากหลายกระจายทั่วทุก 25 อำเภอ เป็นประเพณีแห่เทียนพรรษาที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการ "สืบฮีตวิถีชาวอุบล" โด่งดังไปทั่วโลก และงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้สะท้อนความงามแห่งศิลป์ที่ทรงคุณค่า หลอมรวมกับวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในธรรม ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข สงบร่มเย็น และพอเพียง เป็นแก่นแท้แห่งถิ่นไทยดี ที่ชาวอุบลฯ ขอเชิญชวนทุกท่าน "ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี" สำหรับปีนี้ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2556

วันเข้าพรรษา 2556 ประวัติวันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา 2556
          อีกไม่นาน ก็จะถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนานั่นก็คือ "วันเข้าพรรษา" ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา" นั่นเอง
ประวัติวันเข้าพรรษา
          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 

วันเข้าพรรษา 2556

          นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว 

          ทั้งนี้ ในปี 2556 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันเข้าพรรษา 2556

 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร

          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา

                ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
               การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน
               ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

               ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

               ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
               การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน
               ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ
               ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น
               ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์
               ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน  นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ
               ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน
               พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา  ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา  ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน
               นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก